ภาษีซื้อต้องห้าม! เคลมภาษีไม่ได้แต่ลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ไหม?

ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำมาใช้

…………………………………………………………………..

ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึงอะไร?

ภาษีซื้อ!!! ที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขาย หรือ ไม่สามารถนำไปขอเคลมกับภาษีขายได้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีเงินได้อีกด้วย

…………………………………………………………………..

ลักษณะภาษี

สำหรับลักษณะของภาษีตามกฎหมาย มีรายละเอียดดังนี้

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
  2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
  3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
  5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
  6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

…………………………………………………………………..

ภาษีซื้อที่เคลมภาษีขายไม่ได้ แต่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้มีอะไรบ้าง?

1.ใบกำกับภาษีซื้อของค่ารับรอง เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก หรือค่าที่พาลูกค้าไปสังสรรค์งานต่างๆ ฯลฯ
📍 ข้อกำหนดของค่ารับรอง 03. % ของรายรับทั้งปี หรือ 03.% ของทุนที่ชำระแล้วแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท/ปี
*** ผู้ประกอบการจึงต้องคอนโทรลค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วย

2. ใบกำกับภาษีซื้อของรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง รวมทั้งตัวรถและค่าใช้จ่ายต่างๆของรถยนต์
อย่างเช่น ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าซ่อม ค่าประกัน
🚗 แต่รถกระบะ รถตู้ หรือรถที่เกิน 10 ที่นั่งสามารถขอเคลมภาษีซื้อได้

3. ใบกำกับภาษีซื้อสำหรับใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบกำกับภาษีซื้ออย่างย่อไม่ได้ระบุชื่อผู้ซื้อจึงพิสูจน์ไม่ได้ว่าเราซื้อจริงและอาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

4. ใบกำกับภาษีซื้อที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หากมีการแก้ไขโดยการเขียนด้วยลายมือบางรายการ จะไม่สามารถขอเคลมภาษีซื้อได้

5. ใบกำกับภาษีซื้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตามหน่วยงานของรัฐ หากมีการสั่งพิมพ์ใบกำกับภาษีที่อยู่ใหม่ไม่ทัน สรรพากรจะอนุโลมให้ใช้ใบเก่าได้ ภายใน 1 ปี ผู้ประกอบการต้องทำตรายางมาปั๊มตรงที่อยู่เก่า เมื่อเวลาได้รับเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ

6. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการแก้ไขตรงเลข 13 หลัก จากหน่วยงานราชการหากท่านได้รับเอกสารประเภทนี้มาสามารถใช้งานได้ เพียงแต่ว่าขอเคลมภาษีซื้อไม่ได้

ใบกำกับภาษีในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ธุรกิจขายสินค้าการเกษตร
  2. ธุรกิจขายผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์
  3. ธุรกิจขายหนังสือ
  4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือ ให้เช่าพื้นที่ต่างๆ

เวลาซื้อสินค้าเข้ามาจะได้ใบกำกับภาษีซื้อ ไม่ว่าจะเป็นซื้อสินค้า ซื้ออุปกรณ์ต่างๆ หรือมีค่าใช้จ่ายต่างๆจะมีภาษีซื้อตามมาด้วย

ภาษีซื้อที่ติดกับเอกสารมาท่านไม่สามารถนำไปขอเคลมภาษีขายได้ เนื่องจากไม่ได้จดเข้าระบบ VAT แต่ภาษีซื้อสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้

…………………………………………………………………..

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม

สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่นำภาษีต้องห้ามมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษี รวมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้

  1. เบี้ยปรับ 1 เท่า

– ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้

– ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด

– ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

– ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

– ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

  1. เบี้ยปรับ 2 เท่า

กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

          หมายเหตุ :

(1) ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

(2) ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท

เงินเพิ่ม

เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง

*หมายเหตุ สำหรับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มยังมีรายละเอียดการคำนวณ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่ม!

…………………………………………………………………..

บทสรุป

สำหรับกิจการที่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำภาษีซื้อมาใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเราสามารถนำภาษีซื้อที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายมาหักกับภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หรือ สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่ถ้าหากเรานำมาษีซื้อต้องห้ามมาใช้ก็จะมีทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และหากมีเจตนาใช้ใบกำกับภาษีปลอม ก็จะมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจในเรื่องของภาษีซื้อต้องห้าม เพื่อที่จะได้รู้ประเภทของภาษีซื้อว่าแบบไหนไม่สามารถนำมาใช้หักกับภาษีขาย หรือ ขอคืนภาษีซื้อได้นั้นเอง

…………………………………………………………………..

ติดต่อบริการ

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884

Add Friend
ให้คะแนน
แชร์