อากรแสตมป์ สิ่งสำคัญที่ควรรู้

อากรแสตมป์ สิ่งสำคัญที่ควรรู้ อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เป็นการเก็บจากการจัดทำตราสารที่กฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งผู้จะทำตราสารต่างๆ หากเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรแสตมป์ ก็ควรเสียอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์นะครับ+++

……………………………………………………………………….

ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์

คำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตรา อากรแสตมป์ ซึ่งปัจุจบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่า กระทำ หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

……………………………………………………………………….

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์

  1. บุคคลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ
  2. ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น

ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้

ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ

  1. ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
  2. ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตาม 2

……………………………………………………………………….

วิธีการเสียอากร

  1. ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว
  2. ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว
  3. ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม บทบัญญัติในหมวดอากรแสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

     #เพิ่มเติม: ลิงค์ข้อมูลบัญชีอัตราอากรแสตมป์ http://www.rd.go.th/publish/6162.0.html

……………………………………………………………………….

ข้อเสียของการมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์

ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน ในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอัตราในบัญชีท้าย หมวดอากรแสตมป์ และขีดฆ่าแล้วแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากร

นอกจากนั้นกฎหมายยังห้ามเจ้าพนักงานรัฐบาลลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกสิ่งใด ๆ ในตราสาร ดังกล่าวด้วย จนกว่าจะได้มีการเสียอากรให้ครบถ้วนก่อน

……………………………………………………………………….

หมายเหตุ บทความนี้ให้ความรู้ อากรแสตมป์ สิ่งสำคัญที่ควรรู้ วันที่จัดทำ 21/04/2562

……………………………………………………………………….

ขอขอบคุณข้อมูลจาก “กรมสรรพากร” เรื่อง ความรู้เรื่องภาษี >อากรแสตมป์

แหล่งที่มา: http://www.rd.go.th/publish/305.0.html

ให้คะแนน
แชร์