บัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง สำหรับผู้ประกอบการ

บัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง โดยผู้ประกอบการที่กำลังทำธุรกิจนี้ควรต้องทำความเข้าใจรูปแบบของการประกอบกิจการ เพื่อวางแผนการทำบัญชีวัสดุก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง

บัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง

ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ ความเข้าใจในด้านตัวสินค้า งานทำบัญชี – ภาษี ที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ท่านควรศึกษาและวางระบบการทำงานทั้งระบบหน้าบ้านและระบบหลังบ้านให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้มองเห็นตัวเลขภาพรวมอย่างชัดเจน และสินค้าที่มีการหมุนเวียนทุกวัน ต้องมีการนับสต็อก สุ่มตรวจสินค้าบางรายการทุกอาทิตย์ หรืองานเอกสารด้านการซื้อ-ค่าใช้จ่ายต่างๆ ควรรวบรวมทุกรายการเพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำและถือเป็นการควบคุมภายในธุรกิจอีกอย่างหนึ่งไม่อย่างนั้นอาจทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้เช่นกัน

สิ่งที่สำคัญในการวางแผนการทำบัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง คือเรื่องของสต็อก หากกิจการมีการจัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ และทำข้อมูลระบบบัญชีและงานภาษีให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ จะส่งผลให้การดำเนินกิจการขายวัสดุก่อสร้างไม่สะดุด 

บัญชีวัสดุก่อสร้าง จากรายได้ของกิจการ

รายได้จากการประกอบกิจการขายวัสดุก่อสร้าง จะได้จากการขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ซึ่งนอกจากนี้ร้านขายวัสดุก่อสร้างที่ดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยังมีรายได้อื่นๆ ที่ต้องนำมาลงบัญชีวัสดุก่อสร้างอีก เช่น

  1. รายได้ค่าส่งเสริมการขาย
  2. รายได้ส่วนลด มีทั้งส่วนลดการค้าและส่วนลดเงินสด
  3. รายได้จากกำไรขายสินค้า
  4. รายได้กำไรจากการขายสินค้าที่มีตำหนิ
  5. รายได้จากเงินปันผล (เกิดจากการลงทุน)
  6. รายได้ดอกเบี้ยรับ
  7. กำไร/ขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน
  8. เงินชดเชยค่าภาษีอากร

บัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง จากรายจ่ายของกิจการ

นอกจากรายได้ที่กิจการต้องนำมาบันทึกลงบัญชีวัสดุก่อสร้างแล้ว กิจการจำเป็นต้องเก็บเอกสารรายจ่ายทั้งหมด พร้อมนำมาบันทึกบัญชีวัสดุก่อสร้างให้ถูกต้องเช่นกัน โดยรายจ่ายหลักๆ ที่กิจการต้องเจอประกอบด้วย 

  1. รายจ่ายที่เป็นต้นทุนของการขาย เช่น ค่าซื้อสินค้า ส่วนลดเงินสด ส่วนลดการค้า เป็นต้น
  2. รายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าขนส่ง ค่าเช่าโกดังเก็บสินค้า ดอกเบี้ยจ่าย ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าพาหนะ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เป็นต้น

บัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง จากรายรับ-รายจ่ายของกิจการ

กิจการส่วนใหญ่ที่มีสินค้าจำหน่ายหน้าร้านอย่างชัดเจนและมีปริมาณมาก ดังนั้น การทำบัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นควรวางแผนให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความหลงลืมเพราะรายละเอียดของตัวสินค้ามีค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว

  1. วางระบบหลังบ้านเรื่องการขาย เช่น สินค้าที่ขายหน้าร้านควรมีโปรแกรมสำเร็จรูป (เครื่อง POS) เข้ามาช่วยในการตัดสต็อกเข้าออกอัตโนมัติ  
  2. ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าให้กับลูกค้า ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ หรือออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปทุกครั้ง
  3. ตรวจนับสต็อกบ่อยๆ อาจสุ่มตรวจเป็นบางรายการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดความแม่นยำ และเมื่อถึงช่วงสิ้นปีก็จะสามารถนำมูลค่าสินค้าคงเหลือ ไปบันทึกลงบัญชีวัสดุก่อสร้างในงบการเงินได้อย่างถูกต้อง
  4. กรณีที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้า 7% ไม่ว่าลูกค้าจะรับใบกับกับภาษีหรือไม่ก็ตาม กิจการจำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีทุกบิล เพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายการแก่สรรพากร 
  5. กรณีที่กิจการซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นจากโรงงาน ร้านค้าใหญ่ที่อยู่รูปแบบนิติบุคคล จะต้องขอใบกำกับภาษีซื้อทุกครั้ง เพื่อนำภาษีซื้อมาหักกับภาษีขายของกิจการ 

ทั้งนี้ ลูกค้าของธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างจะเป็นลูกค้าทั่วไปเสียส่วนใหญ่ ซึ่งปัญหาของธุรกิจนี้คือ ฝั่งลูกค้าที่ซื้อสินค้า ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรับใบกำกับภาษีขาย ส่วนฝั่งคนขายวัสดุก่อสร้างเวลาซื้อสินค้าเข้าร้าน ก็ไม่ค่อยมีใบกำกับภาษีซื้อให้ ซึ่งทำให้เวลาลงบัญชีวัสดุก่อสร้าง จะไม่ได้ลงบันทึกยอดรายจ่ายทางบัญชีภาษีบางตัว ทำให้งบการเงินไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น เวลาบันทึกรายการควรทำให้ภาษีขายกับภาษีซื้อสมดุลกัน

ภาษีที่เกี่ยวข้อง ร้านวัสดุก่อสร้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง (ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91)
📝 ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
📝 ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

จะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง (ภ.ง.ด.50/ภ.ง.ด.51)
📝 ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
📝 ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

📝 เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง
📝 เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ภาษีศุลกากร

📝 หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และ เครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

ระบบการขาย ร้านวัสดุก่อสร้าง

  1. โปรแกรมสำเร็จรูป (เครื่อง POS)

การออกใบเสร็จ หากอยู่ในระบบภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อทุกครั้ง หรือ ลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ การเช็คสต็อก บาร์โค้ด ออกบิล สรุปยอดขาย ทำใบเสนอราคา ใบPO โปรแกรม POS เป็นต้น

2. การบริหาร Storck

การบริหารจัดการสต๊อกจะสอดคล้องกับการที่ใช้เครื่อง POS ระบบจะตัดให้ตั้งแต่ตอนขาย แต่หากไม่ได้ตัดตอนขายก็ควรมีนักบัญชีทำการตัดสต๊อกให้ แต่ควรจะมีการวางระบบตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของสินค้า

3. การตรวจนับสต็อกเป็นประจำ

การตรวจนับสต๊อกเป็นเรื่องสำคัญ เพราะธุรกิจวัสดุก่อสร้างจะมีปัญหาเรื่องการตัดสต๊อกสินค้าไม่ตรง สต๊อกสินค้าคงเหลือเกินความเป็นจริงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้รายได้หรือกำไรที่สะท้อนในการจ่ายภาษีไม่ตรงกับที่ธุรกิจกำลังดำเนินการอยู่ 

4. ควรนับสต๊อกสินค้าที่ขายดีมากกว่าปกติ 

สินค้าที่ขายดี ควรนำมาตัดสต๊อกเป็นประจำหรือมีการนับถี่ขึ้นมากกว่าสินค้าชนิดอื่น เพราะอาจทำให้สับสนกับจำนวนสินค้าที่เข้า-ออก เพราะสินค้าที่ขายดีมักจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 

ระบบบัญชี ร้านวัสดุก่อสร้าง

  1. บัญชีแยกประเภท : ระบบบัญชีธุรกิจวัสดุก่อสร้างจะใช้ระบบแยกประเภทของบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีเงินสด, บัญชีลูกหนี้การค้า, บัญชีเจ้าหนี้การค้า, บัญชีสินค้าคงเหลือ เป็นต้น เพื่อให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลการเงินได้โดยง่ายและแม่นยำมากขึ้น
  2. บันทึกบัญชี : การบันทึกข้อมูลการเงินและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เช่น การซื้อวัสดุ, การขายวัสดุ, การชำระเงินและการรับเงิน เพื่อให้สามารถติดตามยอดคงเหลือและบันทึกการเคลื่อนไหวของเงินได้
  3. งบการเงิน : การจัดทำงบการเงิน เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลประกอบการและประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจได้
  4. รายงานการเงิน : การสร้างรายงานการเงิน เช่น รายงานกำไรขาดทุนประจำเดือน, รายงานความสามารถในการชำระหนี้, รายงานสรุปยอดการขาย เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถดำเนินการตัดสินใจทางธุรกิจได้ทันที
  5. ภาษี : ระบบบัญชีธุรกิจวัสดุก่อสร้างจะมีการจัดทำและบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สามารถประเมินภาษีที่ถูกต้องและปฏิบัติตามกฎหมายได้
  6. การตรวจสอบภายใน : ตรวจสอบและควบคุมระบบบัญชีว่ามีความถูกต้องและเป็นไปตามหลักการบัญชีหรือไม่ เพื่อป้องกันการฉ้อโกงและการประมิตรฐานข้อมูลการเงิน

การเตรียมความพร้อมของงานบริหารและบัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง

  • ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนมากเพียงพอ เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย ซึ่งต้องมีการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังด้วย
  • ที่ดินควรมีทำเลเหมาะสม ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีคนสัญจรไปมามากพอสมควร
  • วิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายธุรกิจ กลยุทธ์การดำเนินงาน การสร้างแบรนด์ และประมาณการทางการเงิน
  • พิจารณาคัดเลือกคนงานขายสินค้า และคนขับรถขนส่งสินค้าที่มีทักษะความสามารถ
  • ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการจะต้องบริหารจัดการ วางระบบเกี่ยวกับการซื้อมา-ขายไป การทำบัญชีให้รัดกุม และที่ขาดไม่ได้คือมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ปัจจัยที่ช่วยในการส่งเสริมการเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง

  1. ทำเลที่ตั้ง เลือกตำแหน่งที่ลูกค้ามองเห็นร้านได้ชัดเจน เช่น ติดกับถนนใหญ่ / ใกล้กับสถานที่ก่อสร้าง / ใกล้กับสถานที่ขนส่ง / มีลานจอดรถ / มีผู้คนสัญจรไปมา เป็นต้น
  2. การให้บริการ ควรมีการจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพ มีคำแนะนำที่ถูกต้อง บริการรวดเร็ว  สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ในราคาที่เหมาะสม ถือเป็นจุดขายที่สร้างความพอใจและดึงดูดให้ลูกค้า กลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการได้เป็นอย่างดี 
  3. เงินทุน ธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง ใช้เงินหมุนเวียนจำนวนเยอะ เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย หากเงินทุนไม่พออาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง และนำไปสู่การเกิดภาวะขาดทุนได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรจะต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ 
  4. ความรู้เกี่ยวกับสินค้า  ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องมีทักษะความรู้เกี่ยวกับจุดที่วางและลักษณะของสินค้าแต่ละประเภท เพื่อให้รู้ทันลูกค้าว่าต้องการสินค้าอะไร หรือใช้วัสดุ ก่อสร้างใดทดแทนได้บ้าง
  5. การสร้างเครือข่าย โดยการเป็นพันธมิตร หรือตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้างที่ร้านตนเองไม่ได้สต๊อกไว้ มาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้า หรือการสร้างเครือข่ายกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายย่อยเพื่อขายสินค้าบางรายการที่ร้าน ของตนเองจัดซื้อไว้ในปริมาณมาก ตลอดจนถึงการมีพันธมิตรหรือสายสัมพันธ์ที่ดีกับบรรดาช่างรับเหมาก่อสร้าง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
  6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า กลุ่มผู้รับเหมาจะเป็นลูกค้า ประจำที่ซื้อสินค้าสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบ ควรมีความซื่อสัตย์และรักษาความสัมพันธ์ กับลูกค้าให้ดี
  7. ระบบการบริหารจัดการร้าน ผู้ประกอบการควรมีระบบคลังสินค้าและ ระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็นต้อง สั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และในปริมาณเท่าใด ได้กำไร หรือขาดทุนเท่าใด

เทคนิคเพิ่มยอดขายร้านวัสดุก่อสร้าง

  1. การจัดวางสินค้าหน้าร้าน ที่สามารถดึงลูกค้าเข้าร้าน เพราะบางทีลูกค้าไม่สังเกตก็มองไม่เห็น แต่หากเรานำสินค้าไปวางแสดงหน้าร้านให้เห็นว่านี่คือร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ย่อมสะดุดตาอย่างแน่นอน
  2. การจัดวางสินค้าภายในร้าน เมื่อลูกค้าเข้าร้านและรอสินค้า ลูกค้าจะมองหาในสิ่งที่เขาอยากได้ อยากจะรู้จัก การจัดวางสินค้าจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สินค้าที่จำเป็นต้องใช้แน่นอน
  3. เทคนิคการขาย หรือการแนะนำสินค้า การแนะนำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องให้กับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นช่างหรือเจ้าของบ้าน เขาจะกลับมาเป็นลูกค้าขาประจำอย่างแน่นอน
  4. เทคนิคการให้ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าvip  หากเรารู้ว่าผู้มาชื้อสินค้าเราเป็นระดับvip หรือรายย่อยๆ การให้สิทธิพิเศษสำหรับเขาในด้านราคาและยอดชื้อสะสมที่จะได้ส่วนลดพิเศษอีก เขาก็จะกลายเป็นลูกค้าชั้นเยี่ยมที่คุณจะพอใจมากๆเลยทีเดียว
  5. เทคนิคการต่อรองราคาจากผู้ผลิตสินค้า(Suppliers) การมีลูกค้าประจำและรู้จำนวนที่แน่นอน การสั่งชื้อสินค้าจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากผู้ขายย่อมได้ราคาที่ถูกกว่าการสั่งปกติ การจัดการต่อรองราคาก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางการค้าภายในร้านและนโยบายของตัวแทนจำหน่าย
  6. จัดหาสินค้าวัสดุก่อสร้างให้กับลูกค้าด้วยการเป็นนายหน้า  ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง(ฮาร์ทแวร์)มักจะพบปัญหาเมื่อลูกค้าถามหาสินค้าในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง(อิฐ หิน ปูน ทราย) และเครื่องมือก่อสร้างที่ไม่ได้นำมาจำหน่ายในร้าน แต่หากมีบริการแนะนำร้านค้าให้ลูกค้าประจำ หรือบริการสั่งผ่านทางร้านได้ ก็จะช่วยเพิ่มรายได้อีกทาง แต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกร้านที่บริการจัดส่งที่ดี มีคุณภาพ 
  7. การให้เครดิตกับผู้รับเหมา ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการเพราะการปล่อยเครดิตมีความเสี่ยง  
  8. การขายตรง ไปยังโครงการ และ ในกลุ่มอุตสาหกรรม

แต่เนื่องจากร้านขายวัสดุก่อสร้างจะทำในนามบุคคลธรรมดาส่วนใหญ่ ซึ่งพบว่ามีการนำส่งภาษีผิดพลาดบ่อย ส่งผลให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยเหตุนี้กิจการต้องรวบรวมเอกสารให้ครบถ้วน เช่น เอกสารการซื้อของเข้าร้าน ค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นจ่ายเงินเดือน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ จะต้องเก็บรวบรวมทั้งหมด เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีตามค่าใช้จ่ายจริงได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

บริการทำบัญชีภาษาไทย บัญชีภาษาอังกฤษ ด้วย Software บัญชี

ยื่นภาษี ทั้งรายเดือน รายปี โดยนักบัญชีที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ด้านบัญชีโดยตรง ผ่านระบบโปรแกรมทำบัญชีที่หลากหลาย มากประสบการณ์ด้านการทำบัญชีด้วย SAP B1 , MAC5 , Formula , Business Plus , Express , Peak Account , Flow Account , CD organize ฯ และโปรแกรมบัญชีอีกมากมายที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในธุรกิจองค์กร

ใช้บริการทำบัญชี กับ Greenpro KSP Group เราทำงานอย่างเป็นระบบ ใช้งานโปรแกรม software ทำบัญชีได้หลากหลายรูปแบบ และระบบรองรับการทำงานได้จริง ตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจ ทำให้พร้อมทำงานต่อเนื่องจากโปรแกรมเดิมของลูกค้าได้เลย


ติดต่อบริการทำบัญชีร้านวัสดุก่อสร้าง

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884

Add Friend
ให้คะแนน
แชร์