บัญชีคลินิกเสริมความงาม สำหรับผู้ประกอบการ

บัญชีคลินิกเสริมความงาม

ในปัจจุบันคลินิกเสริมความงาม ธุรกิจที่เติบโตมาจากความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการ
จะมี รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ หรือบุคลิกภาพที่ดูดี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองมากขึ้น เป็นนิยมให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย ผู้คนส่วนใหญ่ต่างหันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเสริมความงาม ดูแลผิวพรรณ ทำหน้าใสผิวสุขภาพดี เป็นต้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อกระแสความงามในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
❗❗❗ แต่การจะประกอบธุรกิจเสริมความงามให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่มีหมอที่เก่ง หรือ มีความเชี่ยวชาญอย่างมาก แต่ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการบัญชี และ การเงิน ทั้งในเรื่องต้นทุน ค่าใช้จ่าย และภาษีที่เกี่ยวข้อง

กรีนโปร เคเอสพี กรุ๊ป “Greenpro KSP Group” จึงได้รวบรวมข้อมูลวิธีการทำบัญชี วางแผนภาษีของธุริจคลินิกเสริมความงามเบื้องต้นมาฝากทุกท่าน💚

การเปิดคลินิกเสริมความงาม ต้องมีการลงทุน ทั้งค่าเช่าสถานที่ อุปกรณ์ รวมถึงเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือทั้งหมดนี้มีราคาแพง และบางครั้งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามเองก็ต้องวางแผนและมั่นใจว่าการบันทึกบัญชีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง

ถ้ากรณีที่เรานำเข้าเครื่องมือดังกล่าวเข้ามาจากต่างประเทศ ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และใบเสร็จการนำเข้าและภาษีเพิ่มเติมที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเช่นกัน

บัญชีคลินิกเสริมความงาม

  • การทำบัญชีในรูปแบบการรับรู้รายได้ ทางบัญชีจะรับรู้ได้ตามจำนวนครั้งที่ลูกค้าเข้าใช้บริการ ส่วนเงินที่ลูกค้าจ่ายมาก่อนครึ่งแรกจะเป็นการบันทึกรับรู้รายได้ล่วงหน้า และหลังจากที่ลูกค้าเข้าบริการจะมีการตัดยอดรับรู้รายได้ล่วงหน้าทีละครั้งตามระยะเวลาจนครบตามคอร์สที่ลูกค้าซื้อ บางคลินิกมีการจ่ายค่า Commission ให้กับ Sale จะตัดจ่ายตามระยะเวลาที่ลูกค้าเข้าใช้บริการเพื่อให้ Sale ดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และทำให้รายได้ – ค่าใช้จ่ายมีความ Balance กัน
  • บันทึกบัญชีเงินเดือน ถ้ามีคุณหมอประจำแบบรายเดือนควรจะต้องทำบัญชีเงินเดือนให้เรียบร้อย เพื่อเก็บประวัติหมอและบุคลากรไว้อย่างครบถ้วน บางคลินิกที่ใหญ่มากๆ มีพนักงานเยอะอาจจะต้องใช้โปรแกรมเงินเดือนมาช่วยเก็บและบันทึกข้อมูล ⭐เพราะถ้าไม่ทำบัญชีเงินเดือน ผู้ประกอบการก็จะไม่รู้ว่าต้องหัก ณ ที่จ่ายเท่าใดเพื่อนำส่งสรรพากร และต้องส่งประกันสังคมเท่าใดบ้าง
  • วิธีการควบคุมสต็อกสินค้า จะต้องวางตารางในการนับสต็อกสินค้าทุกอาทิตย์ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่เหลืออยู่ตรงกับในรายงานของทางบัญชี

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นต้นทุนของการทำธุรกิจคลินิกความงามที่มีอยู่เป็นประจำๆทุกเดือน ผู้ประกอบการจึงไม่ควรละเลยเรื่องงานบัญชี โดยเด็ดขาด

วางแผนภาษี

  • เมื่อเริ่มธุรกิจคลินิกเสริมความงาม ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตเปิดสถานประกอบการคลินิกเวชกรรมต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำป้ายเลขที่ใบอนุญาตสำหรับจดทะเบียนมาติดที่หน้าคลินิก และในกรณีที่นำเข้า เครื่องมือทางการแพทย์ก็ต้องขออนุญาตจาก กระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน
  • ธุรกิจจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถึงแม้รายได้จะเกิน 1.8 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นรายได้ของสถานพยาบาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในข่ายที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรายการ
  • แต่ถ้าไม่ได้ประกอบกิจการภายใต้กฎหมายสถานพยาบาล เช่น ขายอาหารเสริม โดยไม่มีข้อแนะนำใดๆ จากแพทย์ผู้รักษาพยาบาล เช่นร้านขายยาทั่วไป ถือเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

หากจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะเข้ามามีส่วนร่วมถ้ามีการ จ่ายค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆภายในธุรกิจ ต้องมีการหัก ณ ที่จ่ายเหมือนนิติบุคคลทั่วไป ไม่มีการยกเว้น ในส่วนค่าจ้างคุณหมอ ต้องมีการหัก ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกัน

ประกันสังคม

ในกรณีที่คลิจิกมีการจ้างพนักงานประจำ ในตำแหน่ง เซลล์ แอดมิน บัญชี-การเงิน รวมถึงพนักงานในตำแหน่งอื่นๆ ต้องมีการขึ้นประกันสังคมให้ลูกจ้างตามข้อกำหนดของกฎหมาย

การซื้อโฆษณา Facebook

การซื้อโฆษณา Facebook เนื่องจากเป็นการใช้บริการซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องรวบรวมค่าใช้จ่ายต่อเดือนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ( แบบ ภ.พ.36 ) ในเดือนถัดไป

เงินทุนหมุนเวียนภายในธุรกิจ

การวางแผนธุรกิจคลินิกเสริมความงาม จุดสำคัญที่ผู้ประกอบการมักมองข้าม ถือเป็นหัวใจหลักที่กำหนดความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว คือการวางแผนกระแสเงินสดที่จะใช้หมุนเวียนในการประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม
หากเงินหมุนเวียนขาดมืออาจทำให้ธุรกิจตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงได้ เพราะฉะนั้น การที่รู้ต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจ ต้องวางแผนประมาณการรายรับและรายจ่ายอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินสดเพียงพอสามารถเป็นค่าใช้จ่ายแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือ หากทำรายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย

หากจะวางแผนเงินทุนหมุนเวียนต้องดูก่อนว่า ค่าใช้จ่ายคลินิกเสริมความงามมีอะไรบ้าง

  1. ค่าเช่าสถานที่
  2. ค่าจ้างพนักงานภายในกิจการ เช่น แพทย์ประจำ/พาร์ทไทม์ ผู้ช่วยแพทย์ พนักงานต้อนรับ พนักงานขาย รวมถึงแอดมิน
  3. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น
  4. ค่าการตลาด โฆษณาออนไลน์
  5. ค่าบริการวิชาชีพอื่นๆ

⭐ซึ่งการทำคลินิกเสริมความงามนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงต่อเดือน ผู้ประกอบการคลินิกจะต้องมีเงินทุนสำรองที่จะสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้เพียงพอที่จะทำธุรกิจในช่วงเงินสดติดลบให้ได้ประมาณ 1 ปีจึงจะปลอดภัย หากเกิดในกรณีที่ทำรายได้ไม่ตรงตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ก็สามารถที่จะปรับแผนธุรกิจและการตลาดที่จะประคองธุรกิจให้อยู่รอดจนถึงจุดที่กลับมาตั้งตัวทำเงินต่อได้

การเตรียมตัวที่จะเปิดธุรกิจคลินิกเสริมความงาม

การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ในการประกอบธุรกิจ มีภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือรับบริการ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้าหรือรับชำระราคา แล้วแต่กรณี
  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ สำหรับการขายสินค้ารายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการหรือไม่

ภาษีศุลกากร

หากมีการนำเข้าของเครื่องมือแพทย์ หรือ อุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ ยื่นใบขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

▶️ ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
▶️ การนำเข้าสินค้าต้องศึกษา เรื่องอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติมตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้ามาด้วย

รายได้ธุรกิจคลินิกเสริมความงาม

  • รายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาลอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น การทำศัลยกรรม ถือว่าเป็นรายได้ของสถานพยาบาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในข่ายที่ได้รับ “ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม” ทุกรายการ
  • ถ้าไม่ได้ประกอบกิจการภายใต้กฎหมายสถานพยาบาล เช่น ขายอาหารเสริม ร้านขายยาทั่วไป โดยไม่มีข้อแนะนำใดๆ จากแพทย์ผู้รักษาพยาบาล ถือเป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้อง “เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม” รายได้เหล่านี้ถ้าคาดว่าในระหว่างปีจะมีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ก็จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คิด Vat 7% และออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ได้รับเงินจากลูกค้า

ธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามอื่น ๆ

ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม นวดหน้า นวดตัว เครื่องสำอางหรือสมุนไพร ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจโดยบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รายได้ที่ไดัรับจากการประกอบกิจการดังกล่าว ถือเป็นรายได้ที่ต้อง “เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

บริการทำบัญชีภาษาไทย บัญชีภาษาอังกฤษ ด้วย Software บัญชี

ยื่นภาษี ทั้งรายเดือน รายปี โดยนักบัญชีที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ด้านบัญชีโดยตรง ผ่านระบบโปรแกรมทำบัญชีที่หลากหลาย มากประสบการณ์ด้านการทำบัญชีด้วย SAP B1 , MAC5 , Formula , Business Plus , Express , Peak Account , Flow Account , CD organize ฯ และโปรแกรมบัญชีอีกมากมายที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในธุรกิจองค์กร

ใช้บริการทำบัญชี กับ Greenpro KSP Group เราทำงานอย่างเป็นระบบ ใช้งานโปรแกรม software ทำบัญชีได้หลากหลายรูปแบบ และระบบรองรับการทำงานได้จริง ตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจ ทำให้พร้อมทำงานต่อเนื่องจากโปรแกรมเดิมของลูกค้าได้เลย


ติดต่อบริการทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม

Add Friend

ให้คะแนน
แชร์