บัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า สำหรับผู้ประกอบการ

บัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะวางแผนการทำบัญชีภาษีตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของข้อมูลที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ

ธุรกิจขนส่งสินค้า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เริ่มเข้ามามีบทบาทและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายต่างหันมาลงทุนทำธุรกิจนี้อยู่ไม่น้อย และการบริหารธุรกิจขนส่งถือเป็นเรื่องสำคัญในงาน บัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า รวมถึงการวางระบบบัญชี เพราะส่วนประกอบการดำเนินธุรกิจมีข้อมูล รายละเอียดเยอะ อาจจะทำให้ผู้ประกอบการหลงลืมข้อมูลในบางส่วนจนทำให้ละเลยงานบัญชี ภาษีไป และอาจจะทำให้มีปัญหาตามมาในภายหลังได้

บัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า

ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร? เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง และธุรกิจขนส่งมีภาษีที่เกี่ยวข้องอีกหลายประเด็น ทั้งที่ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาและที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงต้องศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันปัญหาถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งสามารถแยกย่อยภาษีที่เกี่ยวข้องได้

บัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า มีความซับซ้อนทั้งรายละเอียด/เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจทำให้โอกาสคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มผิดได้ การนำภาษีซื้อและภาษีขายไปใช้ไม่ถูกต้อง กลายเป็นภาษีต้องห้าม และส่งผลให้ยื่นเสียภาษีผิดพลาดได้ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องบัญชีและภาษีกันค่ะ

“นิติบุคคล ที่ทำธุรกิจขนส่ง” ต้องทำบัญชีหรือไม่?

ตามกฎหมายหากผู้ประกอบการจดทะเบียนบริษัทเป็นรูปนิติบุคคลแล้ว จะต้องทำบัญชีทุก 1 รอบปี

การจัดทำเอกสารเพื่อประกอบ การบันทึกบัญชีธุรกิจขนส่ง

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องออกเอกสารให้กับผู้ว่าจ้าง

  1. ใบแจ้งหนี้ จัดทำก็ต่อเมื่อมีการตกลงจ้างงานแล้วเท่านั้น และต้องระบุข้อความเพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีธุรกิจขนส่ง ดังนี้
    – ชื่อลูกค้า
    – เลขที่เอกสาร
    – วัน เดือน ปี
    – ระยะทางการขนส่ง
    – จำนวนเงิน
    – ชื่อผู้ขับ
    – ชื่อผู้รับงานปลายทาง
  2. ใบเสร็จรับเงิน จัดทำเมื่อได้รับเงินจากผู้ว่าจ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เงินโอนก็ตาม ซึ่งทางผู้จ้างจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้  และผู้รับจ้างจะต้องขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้ว่าจ้างด้วย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี และอาจขอคืนภาษีที่หักไปแล้วคืนได้ หากคำนวณแล้วพบว่าไม่มีภาษีที่ต้องเสีย
  3. หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีธุรกิจขนส่งจดบริษัทเป็นนิติบุคคล เมื่อมีการจ่ายค่าแรงคนขับรถขนส่ง กิจการจะต้องหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
  4. ใบกำกับภาษี สำหรับกิจการขนส่งที่พ่วงสินค้า เมื่อได้รับเงินจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า รายละเอียดที่จำเป็นที่ต้องมีในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป มีดังนี้
    – ชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
    – ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
    – ระบุสำนักงานใหญ่ หรือ “สาขาที่” ของผู้ขาย
    – ระบุสำนักงานใหญ่ หรือ “สาขาที่” ของผู้ซื้อ
    – วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนได้ และใช้พุทธศักราชหรือคริสต์ศักราชได้
    – เลขที่ของใบกำกับภาษี
    – หมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
    – ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการให้ระบุเฉพาะที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีเท่านั้น
    – จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ต้องแยกแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
    – กรณีมีเอกสารอื่นประกอบชุดของใบกำกับภาษีจะต้องมีคำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “ต้นฉบับ” ในใบกำกับภาษี

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
    📝 ค่าบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7
    🚚 ค่าขนส่ง ได้รับการยกเว้น
  2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับธุรกิจขนส่งที่จดทะเบียนบริษัท โดยผู้ว่าจ้างงานหรือกิจการที่เป็นผู้จ่ายเงิน จะต้องเป็นคนหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ส่วนหนึ่งก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้างพร้อมออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ตามที่กฎหมายกำหนด
    📝 ค่าบริการ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 3
    🚚 ค่าขนส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 1
  3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้จากการขนส่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือเหมาจ่าย 60% หรือ เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง ( ต้องเก็บหลักฐาน เอกสารในการจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับเงินได้ เช่น สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงิน )
  4. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องมีการยื่นบัญชีและภาษีสิ้นปี ด้วยแบบ ภ.ง.ด.50 ซึ่งกิจการจะต้องมีการจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อทำบัญชี งบการเงิน โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการทำบัญชีธุรกิจขนส่งนิติบุคคล 📝 ฝั่งรายรับ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินค่าขนส่ง หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย เอกสารด้านรายจ่าย Statement
    📝 ฝั่งรายจ่าย ได้แก่ เอกสารที่จ่ายเป็นค่าน้ำมัน ทางด่วน ค่าซ่อมแซมรถ ค่าประกันรถที่นำมาวิ่งงาน ค่ารถร่วม (ถ้ามี)
  5. ประกันสังคม ในกรณีที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
  6. อากรแสตมป์
    📋 สัญญาบริการต้องติดอากร
    🚚 สัญญาขนส่งไม่ใช่สัญญาจ้างทำของไม่ต้องติดอากร
  7. การหักเปอร์เซนต์ค่าขนส่ง
    สำหรับค่าขนส่ง ในกรณีนิติบุคคล ที่ใช้บริการบริษัทขนส่ง หรือบุคคลที่รับจ้างขนส่งสินค้า จะต้องหัก ณ ที่จ่าย 1% ทุกครั้งที่มีการจ่ายตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป และนำส่งภาษีที่หักไว้

และรวบรวมเอกสารทั้งหมดเพื่อส่งให้สำนักงานบัญชีลงข้อมูลตลอดจนปิดงบการเงินรายปี ตลอดจนส่งให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งควรให้ความสำคัญกับเอกสารบัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้การยื่นภาษีถูกต้อง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำให้เสียภาษีน้อยลง ช่วยลดภาระทางภาษีให้กับกิจการ และยังทำให้ทราบผลการดำเนินกิจการที่แท้จริง วางแผนการดำเนินกิจการในอนาคตได้อีกด้วย😊

ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จริงหรือไม่?

  1. ธุรกิจขนส่งสินค้าเป็นปกติ หรือบริการเป็นประจำ คือ ขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มีบริการอื่นๆ ร่วมด้วย จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. ธุรกิจขนส่งสินค้าที่มีบริการพ่วงด้วย คือ มีการแพ็กของ การเช่าพื้นที่ จะถือเป็นขนส่งที่พ่วงบริการจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือถ้ามีการขายสินค้าด้วย ในส่วนของค่าขนส่งจะได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ค่าบริการหรือขายสินค้าพ่วงด้วย จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 

หลังจดภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจขนส่งต้องทำอะไรบ้าง?

  1. ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้า
  2. รวบรวมเอกสารใบกำกับฝั่งซื้อ เพื่อนำมาใช้เครดิตภาษีขาย หรือขอคืนถาษีซื้อ
  3. ทำรายงานสรุปรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ ในกรณีที่มีขนส่งทั้งธรรมดาและพ่วงบริการ จะต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ

ตัวอย่าง😊

3.1 หากมีรายได้ยอดขนส่งไม่พ่วงบริการ 90% ยอดขนส่งพ่วงบริการ 10% ไม่ต้องนำยอดขนส่งที่พ่วงบริการมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
3.2 หากมีรายได้จากขนส่งแบบธรรมดาและแบบพ่วงบริการทั้ง 2 แบบอย่างละเท่ากัน จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 50%

4. ยื่นแบบ ภ.พ. 30 กับสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าเดือนนั้นจะมีหรือไม่มีการซื้อขายก็ตาม

ข้อมูลการคิดเปอร์เซนต์ VAT เบื้องต้น

หลักการพิจารณาออกใบกำกับภาษี ธุรกิจขนส่งพ่วงขายสินค้า

แบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ

กิจการไม่ได้เป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ

1.1 ถือว่าเป็นการขายสินค้าพร้อมบริการขนส่ง ถือเป็นการขายสินค้า

1.2 มูลค่าของฐานภาษีให้คิดราคาของสินค้ารวมค่าขนส่ง

1.3 กิจการต้องออกใบกำกับภาษี โดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจากค่าสินค้าและค่าขนส่ง
(🚚ค่าขนส่งไม่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)

1.4 กรณีแสดงรายการค่าขนส่งคนละฉบับกับใบกำกับภาษี ค่าสินค้าหรือค่าบริการ กิจการต้องออกใบเพิ่มหนี้สำหรับค่าขนส่ง เนื่องจากเป็นราคาสินค้าหรือค่าบริการส่วนเพิ่ม

กิจการเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ

2.1 ไม่ต้องนำค่าขนส่งมารวมราคาสินค้า

2.2 มูลค่าฐานภาษีให้คิดเฉพาะราคาสินค้า ไม่รวมค่าขนส่ง🚚

2.3 กิจการสามารถแยกค่าขนส่งและค่าสินค้าออกจากกัน

2.4 กิจการออกใบกำกับภาษี โดยไม่ต้องนำค่าขนส่งมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากบริการนี้ค่าขนส่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การวางระบบบัญชีของธุรกิจขนส่งสินค้า

ข้อมูลเบื้องต้นนี้ เป็นเพียงรายการบางส่วนของระบบบัญชีที่ผู้ประกอบการควรมีสำหรับประเภท
ธุรกิจขนส่ง🚚 แต่ความต้องการของธุรกิจท่านอาจแตกต่างกันไป ดังนั้น พิจารณาความต้องการและข้อกำหนดของธุรกิจเพื่อปรับแต่งระบบบัญชีให้เหมาะสมมากที่สุด 💚

  • บัญชีแบบรายรับ อาจมาจากการคิดค่าบริการขนส่ง
  • บัญชีแบบรายจ่าย เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, ค่าเดินทาง, ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ต่างๆ เป็นต้น
  • บัญชีสินทรัพย์ ใช้ในการบันทึกทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่ง
  • บัญชีหนี้สิน ที่ต้องชำระ เช่น หนี้สินที่ยืมจากธนาคารหรือบริษัทอื่นๆ , หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน เป็นต้น
  • บัญชีส่วนของผู้ถือหุ้น บันทึกทุนของเจ้าของธุรกิจขนส่ง รวมถึงกำไรหรือขาดทุนที่สะสมได้จากกิจการ
  • บัญชีสินทรัพย์คงทน บันทึกสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานในธุรกิจขนส่ง เช่น รถบรรทุก คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
  • ระบบบัญชีเสริมอื่นๆ เพื่อตรวจสอบสินค้าคงเหลือ การบันทึกค่าเสื่อมราคา หรือระบบบัญชีลูกหนี้และลูกหนี้สิ้นเปลือง ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจขนส่งท่าน

ขนส่ง “เป็นปกติธุระ” ในราชอาณาจักร  

ไม่เอาค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการ

1. จะแสดงรายการค่าขนส่งไว้ในใบกำกับภาษี หรือ แยกแสดงไว้ในเอกสารอื่นต่างหาก

2. ไม่ว่าจะขนส่งโดยยานพาหนะของตนเอง หรือ ว่าจ้างบุคคลอื่นขนส่งให้ก็ตาม

แต่กิจการต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ของค่าบริการขนส่ง

ตัวอย่าง😊

บริษัทประกอบกิจการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ หากบริษัทสามารถแยกค่าขนส่งและค่าบริการเก็บรักษาสินค้าออกจากกันได้ การให้บริการขนส่งได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนการให้บริการเก็บรักษาสินค้าเข้าลักษณะให้บริการต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปกติธุระเป็นส่วนใหญ่

ตัวอย่าง😊

บริษัทมีรายได้ค่าบรรจุสินค้า 30% รายได้ค่าคลังสินค้า 20% รายได้ค่าบริการขนส่ง 40% และรายได้ค่าบริการผ่านพิธีการทางศุลกากร 10% ถือได้ว่าประกอบกิจการ “ขนส่งเป็นปกติธุระ

ไม่ได้รับข้างขนส่งเป็นปกติธุระ

เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือบริการ ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยมูลค่าฐานภาษี คือ ราคาสินค้าหรือบริการซึ่งรวมค่าขนส่ง

1. จะรวมค่าขนส่งไว้ในสินค้าหรือบริการ

2. จะแยกแสดงรายการค่าขนส่งจากสินค้าหรือบริการ

3. จะแยกบิลค่าขนส่ง และไม่ว่าจะขนส่งโดยยานพาหนะของตนเอง หรือ ว่าจ้างบุคคลอื่นขนส่งให้ก็ตาม

ตัวอย่าง😊

 ให้บริการออกของจากการท่าเรือและให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้า ต้องนำมูลค่าให้บริการขนส่งรวมกับค่าบริการออกของเพื่อรวมคำนวณเป็นฐานภาษี

ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งต้องว่าจ้างค่าขนส่ง ซึ่งรวมการให้บริการกล่อง บรรจุ และเก็บเงินปลายทางค่าบริการขนส่งรวมกับมูลค่าสินค้า จึงเข้าลักษณะเป็นการขาย

❗❗ข้อควรระวัง❗

สำหรับปัญหาของกิจการขนส่ง หรือกิจการขายสินค้า แต่มีการแยก บริการขนส่งออกจาก ค่าสินค้า ทำให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากอัตราค่าขนส่ง และไม่มีอยูในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม   ถ้าคู่ค้าของท่านต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ท่านต้องให้ลูกค้าหัก ในอัตราภาษีค่าขนส่ง (1%) เพื่อป้องกันปัญหาการตีความจากการเข้าตรวจสอบของกรมสรรพากร เพราะถ้าทางลูกค้าต้องการหัก ณ ที่จ่ายอัตราเดียวกับค่าบริการ และ มียอดรวมเกินกว่า 1.8 ล้านบาท กิจการขนส่งอาจถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังได้

กรีนโปร เคเอสพี กรุ๊ป “Greenpro KSP Group” เราให้บริการรับทำบัญชีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยื่นภาษี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน บริการที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี อย่างครบวงจร ทีมงานจะเรียนรู้และทำความเข้าใจความซับซ้อนของธุรกิจ แล้วนำมาปรับแนวทางการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าอย่างสูงสุด
นักบัญชีของเราเชี่ยวชาญ Software บัญชีที่หลากหลาย เช่น SAP B1 , MAC5 , Formula , Business Plus , Express , Peak Account , Flow Account , CD organize ฯ และโปรแกรมบัญชีอื่นๆที่นิยมใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้ช่วยลดความยุ่งยาก ลดความเสี่ยงของการตกหล่นของตัวเลขข้อมูล ที่ผู้ประกอบการหนักใจเมื่อต้องคอยเปลี่ยน Software ทุกครั้ง ที่เปลี่ยนสำนักงานบัญชี
อีกทั้งด้วยระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ข้อมูลชัดเจน สามารถทำงานร่วมกับระบบของลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ รองรับการทำงานได้จริง ตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจ และด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการวางใจ กรีนโปร เคเอสพี ให้ช่วยดูแลระบบหลังบ้าน เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้มีเวลาโฟกัสกับงานหน้าบ้าน การบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น💚

ติดต่อบริการทำบัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีภาษีธุรกิจขนส่งสินค้า

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

5/5 - (1 vote)
แชร์