มีรายได้หลายทาง ต้องเสียภาษีอย่างไร?

มีรายได้หลายทางต้องเสียภาษีอย่างไร หากท่านทำงานประจำและมีรายได้ทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นรับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ หรือ ค้าขาย ต้องเก็บข้อมูลไว้อย่างดี เป็นรายได้ประเภทไหนสามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไร และมีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ต้องรวบรวมหลักฐานทั้งหมดเตรียมไว้ให้ครบ เพราะจะส่งผลถึงการคำนวณกำไรจากธุรกิจ รวมไปถึงการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย

มีรายได้หลายทางต้องเสียภาษีอย่างไร

ประเภทของเงินได้

  • เงินเดือน (มาตรา 40 (1)  :  หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ขายสินค้า (มาตรา 40(8) : หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (มีเอกสารหลักฐาน)    

เงินได้ประเภท 40(1) คือ มนุษย์เงินเดือน เงินได้จากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส จากการทำงานประจำ

เงินได้ประเภท 40(8) คือ เงินได้ที่ไม่ใช่ 40(1) – 40(7) เป็นเงินได้จากธุรกิจการ พาณิชย์, การเกษตร, การอุตสาหกรรม, การขนส่ง ฯลฯ เช่น ขายก๋วยเตี๋ยว, โอเลี้ยง, โรงแรม, ภัตตาคาร, โรงพิมพ์, โรงกลึง, สีข้าว, ฆ่าสัตว์, โรงโม่ ,ตัดเย็บเสื้อผ้า, ตัดผมเสริมสวย รวมไปถึง นักร้องนักแสดง

หลักเกณฑ์การเสียภาษ

  • คนโสด มีรายได้เกิน 60,000 บาท/ปี
  • คนมีคู่สมรส มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท/ปี

เมื่อรู้แล้วว่ารายได้ทั้งหมดมีอะไรบ้าง และหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร ลองมาเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษีกัน

ตัวอย่าง : พนักงานออฟฟิศ และขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริม

ตามตัวอย่างนี้จะพบว่า มีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท (840,000 + 160,000) มีอัตราภาษี 20% เมื่อคำนวณออกมาจะพบว่าต้องเสียภาษีทั้งหมด 115,000 บาท

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี (ไม่รวมเงินเดือน)

ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณวิธีปกติ)

3 ตัวช่วยลดหย่อนภาษี

  1. ประกันชีวิตตนเอง
    ค่าเบี้ยประกันชีวิตของตนเองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี สำหรับประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  2. ประกันสุขภาพตนเอง
    ค่าเบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนได้ตามจริง หรือสูงสุด 25,000 บาท/ปี แต่ประกันสุขภาพ + ประกันชีวิต = รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
  3. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
    กองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปีภาษี โดยกองทุน SSF ต้องถือครองหลังซื้อเป็นเวลา 10 ปีเต็ม

หมายเหตุ : การใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ข้อควรทราบเพิ่มเติม 

บุคคลธรรมดาถ้ารายได้ถึงเกณฑ์ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ทำงานรับจ้าง 40(2) และขายของ 40(8) นั้น ต้องเช็กอยู่เสมอว่ารายได้ของเราเข้าเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่มไหม โดยดูจาก

  1. ประเภทรายได้ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. รายได้รวมตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป 

รายได้ประเภท 40(8) จากการขายของ สามารถเลือกได้ว่าจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% หรือว่าตามจริง 

ทั้งนี้สำหรับการหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริง ควรใช้ในกรณีที่ต้นทุนสินค้ามีมากกว่า 60% เพราะว่าเราจะประหยัดภาษีได้มากกว่า แต่ข้อแม้ก็คือว่า จะต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และมีหลักฐานเอกสารเก็บไว้ด้วย

ดังนั้นหากใครมีรายได้หลายทาง อย่าลืมเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลให้ดี ทำความเข้าใจเรื่องภาษีให้แม่น และทุกคนจะพบว่า “การมีรายได้หลายทางไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป”

ติดต่อบริการบัญชี


ติดต่อบริการบัญชี  : บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
หรือโทร085-067-4884

ให้คะแนน
แชร์