วางแผนภาษีขายของออนไลน์

วางแผนภาษีขายของออนไลน์ เมื่อผู้ประกอบการเริ่มมียอดขายจาก Social Platform ใน Shopee Lazada Tiktok-shop e-commerce Line-shopping วิธีการมีดังนี้

วางแผนภาษีขายของออนไลน์

ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก ผ่านแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องลงทุนเช่าพื้นที่ในการขายของ เพราะเทคโนโลยีต่างถูกพัฒนา และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการสื่อสาร ความบันเทิง การศึกษา การแพทย์ รวมไปถึงการขายของต่างๆ

เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ กับผู้ขาย ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมมาในรูปแบบของเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันสำเร็จรูป ที่ให้ผู้ขายได้เข้ามาลงขายสินค้าไว้ และเป็นที่ที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาค้นหาสินค้าที่เขาต้องการเลือกดูสินค้า เปรียบเทียบราคา กดสั่งซื้อ และชำระเงินได้ครบจบในตัว ส่วนผู้ขายเองก็สามารถลงขายสินค้าได้ง่าย มีการจัดส่งที่เป็นระบบ ป้องกันการเกิดปัญหาสินค้าหรือพัสดุตกหล่นได้เป็นอย่างดี

การวางแผนภาษีธุรกิจ

  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  2. เปิดบัญชีธนาคารสำหรับทำธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการยื่นภาษีมากที่สุด ไม่ควรใช้บัญชีส่วนตัวที่ใช้รับจ่ายอยู่แล้ว เนื่องจากอาจทำให้ไม่เห็นเงินได้ ผลกำไร และผลประกอบการที่แท้จริง
  3. สำหรับธุรกิจที่ซื้อมา-ขายไปทุกรูปแบบ ต้องขอใบกำกับภาษี รวมถึงใบเสร็จรับเงินทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานให้กรมสรรพากร
  4. ทำรายรับ-รายจ่ายทุกวัน พร้อมจำแนกและสรุปผลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อการดำเนินธุรกิจและการวางแผนภาษีด้วย
  5. ติดตามข่าวสารทางการเงิน การลดหย่อนภาษี และนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางภาษีได้

⭐ การขายของในแพลตฟอร์ม Shopee Lazada Tiktok-shop e-commerce Line-shopping มีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง? แล้วจะต้องจัดการอย่างไร? มาเริ่มต้นทำความเข้าใจเรื่องบัญชี ภาษี กันค่ะ

  1. สินค้าแต่ละรายการมีรายได้และค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง

การทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ คือ ผู้ประกอบการจะรู้กำไรขั้นต้นของการขายสินค้าแต่ละชิ้นได้ไม่ยาก หากเจ้าของร้านออนไลน์ขายของดี แต่สุดท้ายไม่มีกำไร เพียงเพราะว่าลืมคิดไปค่ะว่าทั้งแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada เองก็มีค่าใช้จ่ายต่างๆ และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บแม่ค้าด้วยเช่นกัน สามารถวางระบบบัญชีเพื่อช่วยในการบันทึกบัญชี เปิดบิลขาย และตัดสต็อกได้แบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำงานได้ไวขึ้น

2. รายการสินค้าที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ถ้ามียอดขายทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 ฝั่งคือ

  • ภาษีขาย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เรียกเก็บจากลูกค้า ซึ่งต้องคิดรวมอยู่ในราคาขายและค่าขนส่งไว้เรียบร้อยแล้ว 

  • ภาษีซื้อ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราถูก Supplier หรือว่า Shopee, Lazada เรียกเก็บไป ในอัตรา 7% เช่นเดียวกัน สังเกตจากใบกำกับภาษีที่ได้รับมา

วิธีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำนวณจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ ยอดหักกลบกันแล้วได้เท่าไร ให้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแก่สรรพากร

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือหักจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ อย่างเช่น Shopee Lazada

ข้อควรระวัง‼️ ในการทำธุรกิจขายของออนไลน์

  • ออกใบกำกับภาษีแต่ไม่รวมค่าขนส่ง

กรณีที่ร้านค้าเรียกเก็บค่าขนส่งจากลูกค้า ห้ามลืมใส่จำนวนในใบกำกับภาษี ค่าขนส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7%

  • รับรู้ยอดขายผิดเดือน ภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นล่าช้า 

การออกใบกำกับภาษีผิดเดือน นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มก็ข้ามเดือนไป ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แบบนี้อาจมีปัญหาโดนค่าปรับได้

  • ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย 

ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการขายผ่าน Shopee, Lazada ที่โดนเรียกเก็บนั้น ผู้ประกอบการอาจลืมหัก ณ ที่จ่ายแล้วส่งให้กับสรรพากร ถ้าเป็นกรณีนี้อาจถูกค่าปรับย้อนหลังได้เช่นกัน เพราะรายได้ถูกส่งตรงให้กับสรรพากร แปลว่า สรรพากรมีข้อมูลอยู่ในมือครบถ้วน เพียงแค่รอว่าเมื่อไรผู้ประกอบการจะมายื่นภาษี หัก ณ ที่จ่ายตามกำหนดเท่านั้นเอง

  • สต็อกจริงไม่ตรงกับในระบบ

แม่ค้าออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ขายดี ถ้าบริหารจัดการระบบสินค้าคงคลังได้ไม่ดี แบบนี้มีโอกาสสูงมากๆ ที่สต็อกจริง ไม่ตรงกับ สต็อกในรายงานสินค้า และสุดท้ายอาจมีปัญหาจากสรรพากรตามมา

การจัดการปัญหานี้ก็คือ การเช็คสต็อกเข้าออกอยู่เป็นประจำ หรือใช้ระบบโปรแกรมบัญชีที่ตัดสต็อกให้อย่างอัตโนมัติเพื่อประหยัดเวลาการบริหารจัดการสต็อก หรือใช้ตัวช่วยให้การขายของออนไลน์บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ง่ายขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องรู้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ขายของในผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์การทำบัญชีให้ครบถ้วน และยื่นภาษีอย่างถูกต้อง รวมถึงใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อช่วยลดภาระภาษีให้น้อยลง และยังทำให้ร้านค้าเห็นกำไรตามความเป็นจริงอีกด้วย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มีวิธีการคำนวณ 2 แบบ คือ

  • (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย (วิธีนี้สำหรับรายได้ที่ไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี)
  • รายได้ x 0.5% (วิธีนี้จะใช้สำหรับรายได้ที่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี) แล้วนำมาเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบ หากแบบไหนได้ตัวเลขมากกว่าให้ใช้แบบนั้นไปยื่นภาษี

ค่าใช้จ่าย ปัจจัยสำคัญในการวางแผนภาษี เนื่องจากรายได้จากการขายของออนไลน์จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งมีให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ 1) แบบเหมา 60% และ 2) หักตามค่าใช้จ่ายต้นทุนการขายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งแบบนี้ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาหลังยื่นภาษี

ค่าลดหย่อน สามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ
1. ครอบครัว
2. การประกันและการลงทุน
3. การบริจาค
4. กลุ่มพิเศษ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

รายได้ ก่อนหักภาษี ทั้งหมดของกิจการ

ค่าใช้จ่าย ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะที่สรรพากรยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายนำมาหักลบได้ คือไม่เข้าเกณฑ์ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

อัตราภาษี เมื่อได้กำไรสุทธิแล้วให้นำมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% แต่หากเข้าเกณฑ์ธุรกิจประเภท SME (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท + รายได้ทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท) จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีอัตโนมัติ

วางแผนภาษี ขายของออนไลน์รูปแบบนิติบุคคลจะอยู่ที่ค่าใช้จ่ายของกิจการเป็นหลัก หากค่าใช้จ่ายสูงจะส่งผลทำให้กิจการมีกำไรลดลง และเสียภาษีน้อยลง

ภาษีเงินได้ทั้ง 2 แบบสามารถเตรียมวางแผนภาษีแม่ค้าออนไลน์ไว้ก่อนยื่นได้ 2 ช่วง คือ

  • ภาษีสิ้นปี📝 โดยยื่นแบบ ภงด. 90 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม สำหรับภาษีบุคคลธรรมดา และยื่นแบบ ภงด.50 สำหรับภาษีเงินนิติบุคคล
  • ภาษีกลางปี📝 โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน สำหรับภาษีบุคคลธรรมดา และยื่นแบบ ภงด.51 สำหรับภาษีเงินนิติบุคคล เพื่อสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา

ภาษีออนไลน์ E-PAYMENT

ภาษีออนไลน์ E-PAYMENT เป็นการส่งข้อมูลยอดเงินของเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งที่เปิดแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ให้แก่สรรพากร โดยมีเงื่อนไขในการส่งข้อมูลให้สรรพากรคือ

– มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี ไม่ดูจำนวนเงิน

– มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี โดยนับเฉพาะจำนวนเงินรับฝากเข้า และมีจำนวนเงินที่รับฝากรวมเกิน 2 ล้านบาท

ตัวอย่าง

ถ้าเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร โดยผู้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง เก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และยื่นแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน

ในกรณีซื้อของออนไลน์หรือการโอนออกเพื่อใช้จ่ายจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทางกรมสรรพากรต้องการคือ การรับโอน ดังนั้นสำหรับคนที่จำเป็นต้องโอนเงินเพื่อใช้จ่ายจึงไม่ต้องกังวลกับการเสียภาษี ซึ่งกรมสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย

สรุปการวางแผนภาษีขายของออนไลน์

ในการทำธุรกิจควรเสียภาษีอย่างถูกต้อง ดังนั้นต้องมีการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย การเก็บรวบรวมบิลเอกสารมาบันทึกบัญชีอย่างครบถ้วน ในกรณีที่ซื้อสินค้าเข้าและในอนาคตมียอดขายสูงขึ้นธุรกิจจะต้องเสียภาษีขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการถูกสรรพากรประเมินย้อนหลัง

สนใจคอร์สเรียนวางแผนภาษีขายของออนไลน์ คลิก!

Greenpro ksp group💚
มีบริการที่ตอบโจทย์และสามารถช่วยท่านแก้ไขปัญหาภายในบริษัทได้

Greenpro KSP Group💚 เป็นสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 28 ปี ให้บริการด้าน รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางระบบบัญชี ภาษี และการจดทะเบียนบริษัท บริหารงานโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวิชาชีพบัญชีโดยตรง ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพ ยินดีให้คำปรึกษา มีเครือข่ายสำนักงานบัญชีทั่วประเทศไทย พร้อมให้บริการท่าน
อีกทั้งเรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญให้บริการในธุรกิจที่หลากหลาย เช่น
• ธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้า
• ธุรกิจบริการ
• ธุรกิจซื้อมาขายไป
• ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
• ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท
• ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
• ธุรกิจการเงิน
• ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
• ธุรกิจสุขภาพและความงาม
• ธุรกิจการแพทย์
>>และธุรกิจอื่นๆ ที่หลากหลาย ทั้งองค์กรธุรกิจ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SMEs) หรือขนาดใหญ่ โดยนักบัญชีที่มีประสบการณ์ ให้บริการในราคาที่เหมาะสม

ติดต่อบริการวางแผนภาษีขายของออนไลน์

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884

Add Friend

ให้คะแนน
แชร์