วางแผนภาษีธุรกิจขายไก่สด หมูสด และอาหารแปรรูป

ธุรกิจขายไก่สด หมูสด และอาหารแปรรูป ในปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้าเป็นจำนวนมากที่ลงทุนกับธุรกิจนี้ และเป็นสิ่งที่ผู้คนบริโภคไม่มีวันหมด เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญอีกหนึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต

ดังนั้นการทำบัญชี ภาษี จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะรายรับ-รายจ่ายต่อวันมีค่อนข้างเยอะ ซึ่งถ้าพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ให้ความสนใจ หรือละเลยไป เมื่อกลับมาดูรายการบัญชีย้อนหลังอาจจะสับสนได้ ว่าแต่ละยอดคือรายการอะไรและค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง หรือผู้ประกอบการบางท่านหลงลืมส่งภาษีจนทำให้สรรพากรเรียกตรวจสอบ

วางแผนภาษี

  1. หากผู้ประกอบการกังวลภาษี ให้ท่านขอ Bank Statements ย้อนหลังเพื่อประเมินตัวเลขภาษี ในกรณีที่สรรพากรเรียกตรวจสอบ
  2. การเก็บรวบรวมเอกสาร บิลค่าใช้จ่าย การซื้อของสด ของแห้ง รวมถึงอาหารแปลรูป แล้วสรุปในแต่ละปีว่ามีบิลซื้อเท่าไหร่? และดูข้อมูล Statements ประกอบ

การคำนวณภาษีรายการค่าลดหย่อน

  1. ตัวเอง (ผู้มีเงินได้)
  2. สามี
  3. บุตร
  4. ประกันชีวิต
  5. ดอกเบี้ยบ้าน
  6. เงินบริจาค
  7. ดูแลบิดา/มารดา

รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย (ตามจริง)
หัก ค่าลดหย่อน
= กำไรสำหรับคำนวณภาษี

หากกำไรประมาณ 1 ล้านกว่าบาทจำเป็นต้องจดเป็นรูปบริษัท หรือไม่?

หากทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา จะเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายตามจริง หากคำนวณแล้วเหลือกำไรสำหรับเสียภาษี 1 ล้านกว่าบาท สามารถที่จะทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาต่อได้

กรณีลูกค้ามีการเก็บบิลเอกสารค่าใช้จ่ายอย่างครบถ้วน (หักค่าใช้จ่ายตามจริงได้)
สินค้ามี VAT เกิน 1.8 ล้านบาท อย่างเช่น อาหารแปรรูป (มีบิลเอกสารภาษีซื้อ สำหรับหักภาษีขาย) ต้องจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และนำส่งภาษีทุกเดือน

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต้องจดเป็นรูปบริษัทหรือไม่?

ผู้ประกอบการบางท่านเข้าใจว่า เมื่อมีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทจะต้องจดเป็นรูปบริษัท
คำตอบคือ ไม่ใช่

ประเด็นมันมีอยู่ว่า ท่านที่ทำธุรกิจให้นำ รายได้ หัก ต้นทุน และหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง = กำไรจะเหลืออยู่เท่าไหร่ เมื่อคำนวณแล้วเหลือกำไรสำหรับเสียภาษี 1 ล้านกว่าบาท “ค่อยตัดสินใจ” ว่าจะเปลี่ยนเป็นรูปบริษัทหรือไม่


สนใจบริการติดต่อวางแผนภาษีธุรกิจขายไก่สด

Add Friend
ให้คะแนน
แชร์