วางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber

วางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber มีความสำคัญที่นอกจากการทำ content แล้ว จะต้องบริหารจัดการภาษี ของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำยูทูปอีกด้วย💻

วางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber

ปฎิเสธไมได้ว่า Youtuber กลายมาเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจและนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แพลตฟอร์มที่รวบรวมคลิปวิดิโอเพื่อความบันเทิงไว้มากมาย ซึ่งในตอนนี้คนหันมาทำคอนเทนต์บน Youtube กันมากขึ้น เพราะสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งทำคอนเทนต์น่าสนใจ คุณจะเป็น Youtuber ที่ทุกคนจะให้ความสนใจและสร้างรายได้เกินกว่าที่คุณคาดคิด ทำให้หลายๆคนสงสัยว่าอาชีพนี้มีรายได้จากอะไรบ้าง? การหักค่าใช้จ่ายและเสียภาษีอย่างไร? วันนี้จะมาเคลียร์ข้อสงสัยเหล่านี้กัน

Youtuber เป็นการทำงานที่มีอิสระ ลักษณะเงินได้จึงเข้าข่ายอยู่ 2 มาตรา คือ 40(2) และ 40(8)

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(2)

  • ลักษณะงานมีค่าใช้จ่ายจำนวนเงินน้อย
  • ไม่จัดตั้งเป็นบริษัท
  • อาศัยแรงงานตัวเองเป็นหลัก
  • ไม่มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8)

  • ลักษณะงานมีค่าใช้จ่ายจำนวนเงินสูง
  • จัดตั้งเป็นบริษัท
  • มีการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ และมีค่าใช้จ่ายสำนักงาน
  • มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน

⭐ ข้อเสียของ 40(2) คือ หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ทำให้ส่วน 40(8) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ หรือหักจ่ายตามจริงก็ได้

ภาษีจะคิดจากเงินได้สุทธิ ซึ่งมาจาก เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ดังนั้น หากรายได้ youtuber เข้าลักษณะ 40(2) ก็จะมีโอกาสเสียภาษีมากกว่า รายได้ที่เข้าลักษณะ 40(8) เหตุผลเพราะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่านั้นเอง

รายได้จากการทำช่อง Youtube💸

ส่วนแบ่งค่าโฆษณาในช่อง youtube 

  • จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง

รับจ้างรีวิวสินค้า

  • กรณีใช้แรงงานตัวเอง ไม่มีบริษัท ไม่มีลูกจ้าง เข้าข่ายเงินได้ประเภทที่ 2 สามารถหักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีมีทีมงานลูกจ้าง โปรดักส์ชัน มีบริษัท จะเข้าเงินได้ประเภทที่ 8 คือ ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง

รับจ้างออกงาน Event

  • กรณีใช้แรงงานตัวเอง ไม่มีบริษัท ไม่มีลูกจ้าง เข้าข่ายเงินได้ประเภทที่ 2 สามารถหักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีที่มีทีมงาน มีบริษัท ลูกจ้าง นักแสดงอิสระ จะเข้าเงินได้ประเภทที่ 8 หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือ หักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาได้ สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท 60% และส่วนที่เกิน 300,000 บาท 40% ทั้งนี้รวมกันไม่เกิน 600,000 บาท (สำหรับกรณีที่เป็นการแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ)

การรับทำโฆษณา

จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง

การขายสินค้า

จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 โดย หักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือในอัตราเหมา 60%  

โดยเงินได้แต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีว่ามีรายได้จากอะไรเพื่อให้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง เราจึงสรุปตามแต่ละประเภทดังนี้

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

  1. ค่าอุปกรณ์ในการถ่าย (กล้อง , ไมค์)
  2. อุปกรณ์ สินค้าบริการในการถ่าย
  3. ค่าจ้างคนคิด Content
  4. ค่าจ้างคนตัดต่อ
  5. ค่าเสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผม
  6. ค่าอุปกรณ์ เช่น ระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ
  7. ค่าซื้อสินค้า หัก สินค้าที่คงเหลืออยู่
  8. และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถติดตามได้ใน คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (Youtuber)

ภาษีที่เกี่ยวข้องรูปแบบบุคคลธรรมดา

ภาษีบุคคลธรรมดา

  1. ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ที่มีรายได้จากส่วนแบ่งโฆษณาและการขายสินค้าออนไลน์
  2. ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. คำนวณภาษีจาก “เงินได้สุทธิ” = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ⭐เงินได้สุทธิ คือ เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
  2. คำนวณภาษีจาก “เงินได้พึงประเมิน” จำนวนภาษี = เงินได้พึงประเมิน x 0.5%
    ⭐กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่2 และมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังเสียภาษีตามวิธีที่1ด้วย
    ⭐เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้ประเภทที่ 2-8 ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป

อัตรภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เอกสารยื่นแบบภาษี

  1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก)
  2. รายงานเงินสดรับ-จ่าย และเก็บเอกสาร หลักฐานของรายรับรายจ่ายทั้งหมด

กำหนดยื่นแบบ ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา

ภ.ง.ด.90

มกราคม – มีนาคม (ของปีถัดจากที่มีเงินได้)

ภ.ง.ด.94

กรกฎาคม – กันยายน (ของปีที่ได้รับเงินได้)


ภาษีที่เกี่ยวข้องรูปแบบนิติบุคคล

ภาษีนิติบุคคล

  1. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภาษีแบบครึ่งปี
  2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภาษีแบบประจำปี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์

เอกสารยื่นแบบภาษี

  1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก (ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้)
  2. จัดทำบัญชีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

วางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber ด้วยการปรับปรุงรายให้เข้ามาตรา 40(8) เพื่อประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นแล้ว จากสมการเงินได้สุทธิ  = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ดังนั้นเพื่อให้เงินได้สุทธิต่ำให้มากที่สุด เพื่อจะได้เสียภาษีน้อยที่สุดยังมีอีกวิธี คือ การใช้สิทธิค่าลดหย่อน ซึ่งมีค่าลดหย่อนหลายตัวที่ควรใช้อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ค่าลดหย่อนค่าซื้อ RMF, SSF, ประกันบำนาญ ฯลฯ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดภาษีแล้ว เรายังได้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์จากเงินออมของเราด้วย และหากทำตามเงื่อนไขของสรรพากรผลประโยชน์หรือผลตอบแทนเหล่านั้นจะได้รับยกเว้นภาษีอีกต่างหาก

ลูกค้า ที่ใช้บริการวางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber กับเรา💚

  1. Bear House
  2. พีช อีท แหลก
  3. บ้านชัยชิตาทรเก้าเก้า
  4. ซิคาด้า มิเดีย
  5. หนุ่ย ช่วย นุช
  6. ซี เอส พี แมเนจเม้นท์
  7. ชาดีน้า

สนใจคอร์สเรียนวางแผนภาษียูทูปเบอร์ Youtuber ออนไลน์ คลิก!

คอร์สเรียน วางแผนภาษียูทูปเบอร์ (Youtuber)

คอร์สเรียน ภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่

คอร์สเรียน วางแผนภาษีขายสินค้าออนไลน์

Greenpro ksp group💚
มีบริการที่ตอบโจทย์และสามารถช่วยท่านแก้ไขปัญหาภายในบริษัทได้

Greenpro KSP Group💚 เป็นสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 28 ปี ให้บริการด้าน รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางระบบบัญชี ภาษี และการจดทะเบียนบริษัท บริหารงานโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวิชาชีพบัญชีโดยตรง ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพ ยินดีให้คำปรึกษา มีเครือข่ายสำนักงานบัญชีทั่วประเทศไทย พร้อมให้บริการท่าน
อีกทั้งเรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญให้บริการในธุรกิจที่หลากหลาย เช่น
• ธุรกิจผลิต และจำหน่ายสินค้า
• ธุรกิจบริการ
• ธุรกิจซื้อมาขายไป
• ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
• ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท
• ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
• ธุรกิจการเงิน
• ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์
• ธุรกิจสุขภาพและความงาม
• ธุรกิจการแพทย์
>>และธุรกิจอื่นๆ ที่หลากหลาย ทั้งองค์กรธุรกิจ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง (SMEs) หรือขนาดใหญ่ โดยนักบัญชีที่มีประสบการณ์ ให้บริการในราคาที่เหมาะสม

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884

Add Friend

Icon Label


ให้คะแนน
แชร์