ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะประกอบกิจการในรูปของ
• บุคคลธรรมดา
• คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
• กองมรดก
• ห้างหุ้นส่วนสามัญ
• กองทุน
• หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล
• องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล

ในกรณีผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการรวมตลอดถึง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรง หรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกับผู้ประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น

การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่จะต้องเสียภาษีได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
4. การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)

กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  3. สหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
  4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  5. การเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
  6. รับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
  7. ขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  8. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
  9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
  10. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในประเทศไทย
  11. กองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  12. องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
  13. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
  14. กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี
  15. กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
  16. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน การงิน และกองทุนรวม
  17. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  18. การเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาไปคนจนในเมือง
  19. สหกรณ์ประเภทบริการ
  20. สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
  21. ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร
  22. รัฐวิสาหกิจในส่วนของรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วน หรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
  23. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
  24. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
  25. การเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกาาโรงเรียนเอกชน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
  26. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  27. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้น เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  28. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  29. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอน เนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  30. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
  31. กิจการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า
  32. กิจการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  33. สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
  34. สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมาย
  35. การโอนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการแยกกิจการประกันชีวิต และกิจการประกันวินาศภัยออกจากกัน
  36. การขายอสังหาริมทรัพย์ขององค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการเงิน
  37. การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่องค์การฯ หรือบริษัทจำกัด

หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

1. หน้าที่ในการจดทะเบียนภาษี ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี ตามแบบคำขอจดทะเบียนภาษีภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจการ ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีได้แก่ แก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการที่ได้ จดทะเบียนภาษีในสาระสำคัญ เช่น
• เปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ ประเภทกิจการ ประเภทสินค้า หรือบริการ
• เปิดสถานประกอบการเพิ่ม
• หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
• โอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด
• ควบเข้ากันของนิติบุคคล
• เลิกประกอบกิจการ
• ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย


สนใจบริการติดต่อ

ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend
ให้คะแนน
แชร์